warunya kuntong

warunya kuntong

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 สารสนเทศ

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
      ทุกคนคงคุ้นกับคำว่า ข้อมูล มานานแล้ว ในร.รมีข้อมูลอยู่มาก เช่น ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลวิชาเรียนข้อมูลคุณครู ในการดำเนินการต่างๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา
2.1.1 ข้อมูล (data) คือข้อเท็จจริงหรือรายละเอีอดของสิ่งที่เราสนใจ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข ข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์ ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง
2.1.2 สารสนเทศ (information) หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เพราะได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้งานได้ เช่น เมื่อต้องการสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย
2.2 ระบบสารสนเทศ
      ระบบสารสนเทศ (information system : IS) คือ การดำเนินงานกับข้อมูล ตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรอาจใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เป็นเครื่องมือที่ให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ
      การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบันทึกข้อมูลลงแบบฟอร์ม และมีการสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศเพื่อสร้างรายงาน
สารสนเทศสามารถแบ่งประเภทตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
1) สารสนเทศที่ทำประจำ เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ
2) สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่างๆ
3) สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ในการดำเนินการต่างๆบางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
2.3 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
      ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูล ทั้ง 5 ส่วนประกอบมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ
2.4 ประเภทของข้อมูล
      ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เราแบ่งประเภทของข้อมูลได้เป็นสองประเภท
2.4.1 ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึงข้อมูลที่ได้จาการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง
2.4.2 ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว บางครั้งอาจจะมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ
2.5 การประมวลผลข้อมูล
      ในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน
      การประมวลผลข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนการประกอบกัน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับการรายงานผล รวมถึงการส่งข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
2.6 วิธีการประมวลผล
      วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล
2.6.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) หมายถึง การทำงานในขณะที่ข้อมูลการเดินทางไปบนสายสัญญาณเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทาง (terminal) ไปยังฐานข้อมูลของเครื่องหลักที่ใช้ในการประมวลผล
2.6.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้งๆ
2.7 การจัดการสารสนเทศ
      สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่างๆ อาจรวบรวมรายชื่อเพิ่อน และเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเพื่อนแล้วนำมาสรุปตามที่ต้องการ การจัดการสารสนเทศจึงรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสานเทศมีหลายขั้นตอน ดังนี้
2.7.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
2.7.2 การตรวจสอบข้อมูล
2.7.3 การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล
2.7.4 การจัดเรียงข้อมูล
2.7.5 การคำนวณ
2.7.6 การทำรายงาน
2.7.7 การจัดเก็บ
2.7.8 การทำสำเนา
2.7.9 การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล
2.8 การแทนข้อมูล
      จากที่กล่าวมาแล้วว่า สารสนเทศคือข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผล การประมวลผลข้อมูลส่วนใหญ่จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยพื่อความรวดเร็วและความแม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลจะต้องอยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีการแทนข้อมูลซึ่งเป็นชุดอักขระ



















ตัวอย่าง ชื่อนักเรียนที่เป็นเลขฐานสอง
ตอบ ว = 11000111
         ร = 11000011
        ั = 11010001
       ญ = 10101101
       ญ = 10101101
        า = 11100010
พิมพ์เด็กเก่งและดีเป็นเลขฐานสอง
ตอบ เ = 11100000
       ด = 10110100
       ็ = 11100111
       ก = 10100001
        เ = 11100000
       ก = 10100001
       ่ = 11101000
       ง = 10100111
       แ = 11100001
       ล = 11000101
       ะ = 11010000
       ด = 10110100
       ี = 11010101
2.9 แฟ้มข้อมูล
      สมมติว่า ต้องการเก็บข้อมูลนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยชื่อและคะแนนสอบของนักเรียนในชั้น โดยในส่วนของคะแนนสอบประกอบด้วยคะแนนสอบย่อยสองครั้งและสอบปลายภาคหนึ่งครั้ง ลักษณะของข้อมูลที่จัดเก็บสามารถสร้างเป็นแฟ้ม (file) ได้ โดยในแฟ้มจะมีรายการของนักเรียนแต่ละคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น